นับตั้งแต่สงครามโลกครั้ง 2 เป็นต้นมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านการผลิตและการวางแผนพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่การบำรุงรักษากลับถูกมองข้ามมาโดยตลอด จนกระทั่งมีความคิดว่าการปล่อยให้อุปกรณ์เครื่องจักรใช้งานโดยขาดการเหลียวแลอย่างจริงจังเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมเสียแล้ว จำเป็นต้องทำใ้ห้เครื่องจักรสามารถผลิตของให้ได้ใกล้เคียง หรือถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ให้ดีที่สุด ทั้งนี้เพื่อลดผลิตภัณฑ์ที่ชำรุดไม่ได้มาตรฐานให้มากที่สุด ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับกันว่าการซ่อมบำรุงต้องกระทำให้เร็วที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดเครื่องเป็นเวลานานๆ
การบำรุงรักษากำลังกลายเป็นกิจกรรมอุตสาหกรรมที่มีความสำคัุญที่สุดอย่างหนึ่ง ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้สืบเนื่องจากปัญหาของการบำรุงรักษาที่นับวันจะยุ่งยากซับซ้อนใช้เวลามากขึ้น ใช้งบประมาณ เครื่องมือ และกำลังคนมากขึ้น นั่นหมายถึงการลงทุนที่สูงขึ้น
แนวความคิดของการบำรุงรักษาสมัยใหม่จึงก่อตัวขึ้น โดยเริ่มที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วจึงเผยแพร่ไปยังสหราชอาณาจักรและยุโรปอย่างกว้างขวาง ต่อมาจึงเข้าไปใช้ในญี่ปุ่น และมีการพัฒนามามากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันรูปแบบการบำรุงรักษาไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้ว ทุกฝ่ายที่ทำงานในหน่วยงานนั้นต้องช่วยกันบำรุงรักษา เป็นที่มาของ การบำรุงรักษาที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Management = TPM)
ดังนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงเป็นประเทศแรกๆที่ผลิตเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพในการช่วยงานแผนกซ่อมบำรุง และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย